โครงการสานพลังสร้างภูมิคุ้มกัน ลด ละเลิก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสรรคสังคมไทยปลอดบุหรี่ และเครือข่ายสโมสรนักศึกษา ปี 2566- 2567

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

ผลจากการจัดโครงการทำให้ได้พัฒนาต่อยอดในการรณรงค์ ควบคุมยาสูบในมหาวิทยาลัยโดยมีแกนนำที่ได้รับการเพิ่มพูนความรู้ และทักษะในการควบคุมยาสูบที่จะร่วมกันขับเคลื่อนอันจะนำไปสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ในอนาคต

โครงการสานพลังสร้างภูมิคุ้มกัน ลด ละเลิก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา  เป็นโครงการที่มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในชุมชนมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักศึกษา โดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาลที่มีความตั้งใจที่จะเป็นแกนนำการขับเคลื่อนชักชวนเพื่อนพี่น้องนักศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า และร่วมกันเป็นแกนนำนักศึกษาเพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยที่ปลอดบุหรี่ในอนาคต

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้นำของนักศึกษาพยาบาลในการเป็นแกนนำ ชวนเพื่อน พี่น้องนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ตระหนักรู้ในพิษภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

2. เพื่อส่งเสริมนักศึกษาในพื้นที่มหิดลศาลายาให้มีความรู้ และตระหนักเกี่ยวกับโทษ อันตรายของบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า

3. เพื่อส่งเสริมการร่วมเป็นแกนนำของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยมหิดลในการรณรงค์ การสร้างสังคมปลอดบุหรี่

4. เพื่อนักศึกษาในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายาที่เป็นผู้สูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ได้รับการคัดกรองและชักชวนให้ลดละเลิกบุหรี่โดยนักศึกษาที่เข้าอบรมแกนนำ

 

กิจกรรมครั้งที่ 1 จัดขึ้นเป็นการป้องกันการเพิ่มจำนวนนักสูบหน้าใหม่โดยเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ภัยร้ายใกล้ตัว และการเสริมทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนให้ลองสูบ และขณะเดียวกันสามารถช่วยให้คำแนะนำ การลด ละเลิกบุหรี่กับกลุ่มผู้ติดบุหรี่ได้ และเพื่อส่งเสริมการร่วมเป็นแกนนำในการควบคุมบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสรรคสังคมไทยปลอดบุหรี่ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินการในการควบคุมยาสูบ และได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมระดมสมอง หัวข้อ“บทบาทนักศึกษาต่อความคาดหวังของสังคมต่อบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า”โดยได้ร่วมกันออกแบบกิจกรรม/โครงการเพื่อการรณรงค์เกี่ยวกับบุหรี่/ไฟฟ้า

ผลการดำเนินการ ครั้งที่ 1 นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม 40 คน  ชั้นปี  1   82.50 %  (33 คน)  ชั้นปี 2   15.00 %  (6 คน)  และชั้นปี 4   2.50 %   (1 คน) เคยสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า   10.00 %  (4 คน) ปัจจุบันสูบบุหรี่  7.50 %    (3 คน) นักศึกษาที่สูบคิดจะเลิก   100%    (3 คน) มีเพื่อนหรือคนใกล้ชิดสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า 72.50 %  (29 คน)

ผลการประมินความรู้เกี่ยวกับบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า และความมั่นใจในการควบคุมบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ดังภาพที่ 1 และ 2  โดยนักศึกษาหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้ามากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และนักศึกษาหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีความมั่นใจในการควบคุมบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้ามากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม

 

 

กิจกรรมครั้งที่ 2 แลกเปลี่ยนประสบการณ์การช่วยให้คำแนะนำ การลด ละเลิกบุหรี่กับกลุ่มผู้ติดบุหรี่  โดยนักศึกษาได้นำความรู้ ทักษะการให้คำแนะนำ การช่วยเลิกบุหรี่ที่ได้รับการฝึกอบรมครั้งที่ 1 ไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม 40 คน มีนักศึกษาที่ ไปชักชวนเพื่อนคนใกล้ชิดให้เลิกบุหรี่จำนวน 27 คน (ร้อยละ 67.5)  และผู้ที่ได้รับการชักชวนให้เลิก ลด บุหรี่ ตอบรับที่จะปฏิบัติ จำนวน 17 คน (ร้อยละ 62.9) โดยเหตุผลที่ปฏิเสธคือ การสูบนาน สำหรับนักศึกษาแกนนำต้องการเทคนิคการโน้มน้าวจิตใจของผู้สูบให้เลิกบุหรี่/บุหรี่เพิ่มขึ้น

Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
ชมรมนักศึกษาพยาบาลสร้างสรรคสังคมไทยปลอดบุหรี่
ส่วนงานหลัก
ส่วนงานร่วม