การผ่าตัด SLET ให้ผลการผ่าตัดที่มีอัตราความสำเร็จสูง ทำให้สามารถรักษาภาวะ สเต็มเซลล์ของผิว กระจกตาบกพร่องได้ดีในประเทศไทยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดูแลตัวเองโดย ไม่ต้องพึ่งพา ผู้อื่นได้ดีขึ้น นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศจากการได้ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ ระดับดีมาก ไม่ต้องมีเครื่องมือพิเศษ และไม่ต้องใช้ห้องปฏิบัติการที่ต้องมีเทคโนโลยีชั้นสูง ทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่าย เวลา และสถานที่ ได้เป็นอย่างมาก และมีความคุ้มค่าในด้านเศรษฐกิจ
ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการพัฒนาผลงานที่ชัดเจนและวัดผลได้
ต่อผู้ป่วย
- ผลการผ่าตัดตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2565 มีผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธี SLET ทั้งหมด 49 ตา ประสบความสำเร็จ ทั้งหมด 36 ตา (ร้อยละ 73.5%)
- ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติได้ สามารถทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและครอบครัวได้ ซึ่งเป็นผู้ป่วยรายเดิมที่ไม่สามารถจะมีวิธีที่รักษาได้ดี
- ผลที่ได้ไม่ด้อยกว่าวิธีเดิมคือเพาะเลี้ยงเซลล์ และผลที่ได้ดีกว่าวิธีเพาะเลี้ยงเซลล์ในบางโรค
- Cost effectiveness
- ประหยัดสถานที่และบุคลากร โดยไม่ต้องใช้ห้องปฏิบัติการที่ต้องมีเทคโนโลยีชั้นสูง
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาห้องปฏิบัติการที่มีเทคโนโลยีสูง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทำห้องปฏิบัติการเช่นนี้มีราคาสูงมากนับเป็นหลายล้านบาทต่อห้อง และต้องมีผู้ดูแลที่มีความรู้สูง
- ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเพาะเลี้ยงเซลล์
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ไปได้กว่า 5,000,000 บาท ในระยะเวลาที่ผ่านมาที่ทำการผ่าตัดผู้ป่วยไปนับ 50 ราย
- ประหยัดเวลา ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ทันที ไม่ต้องรอเวลาเพาะเลี้ยงเซลล์ ซึ่งการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้องใช้เวลาถึง 15 วัน
หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายในการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ผิวกระจกตาในต่างประเทศ เช่น Holoclar 80,000 GBP หรือ ประมาณ 3,520,000 ล้านบาท
Implement to other Ophthalmologists and populations
- การนำเสนองานวิจัย ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 34th Congress of Asia-Pacific Academy of Ophthalmology (APAO 2019) เมื่อวันที่ 5-9 มีนาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมฯ สิริกิตติ์ กรุงเทพมหานคร
- จัดงานแถลงข่าว “ศิริราชประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์รักษาผิวกระจกตาเป็นครั้ง แรกของประเทศไทย” เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562 ณ โรงพยาบาลศิริราช
- ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติหลายฉบับ
- จัดงานประชุม SLET WORKSHOP ให้แก่จักษุแพทย์ทั้งไทยและต่างชาติในประเทศเพื่อนบ้าน โดย เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ บรรยาย ผ่าตัด Wet Lab
- วิธีการผ่าตัด SLET จุดเด่นคือสามารถทำได้ในโรงพยาบาลทั่วไปที่มีจักษุแพทย์ด้านกระจกตา โดยไม่ ต้องมี เครื่องมือพิเศษ และไม่ต้องพึ่งพาห้องปฏิบัติการสำหรับการเพาะเลี้ยงเซลล์
- ทำให้มีการขยายพื้นที่บริการในสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ ไปยังโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์การศึกษาต่างๆได้ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลมหาราชนคร เชียงใหม่ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นต้น
- ร่วมกับชมรมกระจกตาแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
- เสนอการผ่าตัดโดยวิธี SLET ต่อแพทยสภาและได้การรับรองจากแพทยสภาว่าเป็นการผ่าตัดที่เป็น มาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสเต็มเซลล์ผิวกระจกตาบกพร่อง เป็นการรักษาทางสเต็มเซลล์ เป็นชนิดที่ 2 ถัดจากการปลูกถ่ายไขกระดูก
- เสนอเรื่องไปที่สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้ดำ เนินการรับรองสิทธิ์การรักษาของผู้ป่วยปลูกถ่าย สเต็มเซลล์รักษาผิวกระจกตา ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิ์การรักษาการปลูก ถ่ายสเต็มเซลล์ได้ทุกสิทธิ์ และเข้าถึงการรักษาได้ทุกระดับ
- จัดร่างหลักสูตร จัดอบรมจักษุแพทย์ เรื่องการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เพื่อรักษาภาวะสเต็มเซลล์ผิวกระจก ตาบกพร่อง และออกใบรับรองจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางกระจกตา
- การต่อยอดผลงานวิจัย
- จากการดำเนินการผ่าตัดโดยวิธี SLET พบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับ จึงส่งผลให้เกิดการต่อยอดในการวิจัย ทำให้ปัจจุบันมีงานวิจัยที่กาลังอยู่ระหว่างการดาเนินงาน 2 เรื่อง ดังนี้ การศึกษาถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ชนิดต่างๆ ในประเทศไทย เป็นต้น
- การศึกษาถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไทย ได้เริ่มโครงการในปี 2563 โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 3 ปี
- การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย ได้เริ่มโครงการในปี 2565โดยใช้ระยะเวลาในการดาเนินการดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 1- 2 ปี
- พัฒนาระบบสาธารณสุข
- สามารถกระจายการผ่าตัดปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ไปทั่วประเทศ กระจายแพทย์สู่ระดับภูมิภาค เพื่อลด ปัญหาความยากลำบากในการเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ สำหรับผู้ป่วยที่อาศัยใน พื้นที่ห่างไกล
- ร่วมกับชมรมกระจกตาฯ และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ทำให้การรักษานี้ยั่งยืน โดย ผ่านการรับรอง แพทยสภา ให้เป็นมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยสเต็มเซลล์ผิวกระจกตาบกพร่อง เสนอขอรับรองสิทธิการรักษากับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และจัดหลักสูตรอบรมจักษุแพทย์