ม.มหิดล – NECTEC – ม.นเรศวร ร่วมส่งเสริม “เยาวชนไทยทรงดำ” สร้างสรรค์ “พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล” เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ มีการจัดทำ QR Code ผู้สนใจผู้เข้าชมสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวได้ถึง 360 องศาเพียงใช้โทรศัพท์มือถือสแกน นอกจากนี้ ยังได้มีการฝึกทักษะผู้ประกอบการให้กับเยาวชนไทยทรงดำในชุมชนที่เข้ารับการอบรม เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมีการนำ “รังไหม” ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการทอผ้าดังกล่าว มาทำเป็น “สบู่รังไหม” ที่มีสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้ต่อไปอีกด้วย

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และกองส่งเสริมศิลปะวัฒนกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้การสนับสนุน
ด้านการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาทำให้เกิดการต่อยอดทางภูมิปัญญาที่ยั่งยืน จากการทำหน้าที่เสมือนเป็น
"พี่เลี้ยง" ที่คอยส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนซึ่งเป็นลูกหลานไทยทรงดำในชุมชนหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ให้ได้เป็นกำลังสำคัญในการสืบสานองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาภาษาวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอด โดยมีการนำการเรียนการสอนทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รวมทั้งภาษาและวัฒนธรรมไทยทรงดำมาใช้ในหลักสูตรของโรงเรียนวัดหนองปรง (บุญมานุสรณ์) ตลอดจนได้มีการรวบรวมนำเอาภูมิปัญญาต่างๆ ของชาวไทยทรงดำมาจัดแสดงใน “พิพิธภัณฑ์ปานถนอม” พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นไทยทรงดำ ก่อตั้งโดยครูถนอม คงยิ้มละมัย โดยได้มีการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กและเยาวชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม จนได้รับรางวัล Museum Thailand Award 2021 จาก สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านชุมชนและท้องถิ่น รางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์ และสืบสาน และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมิตรา สุรรัตน์เดชา ได้เป็น
ผู้นำเอา “นวนุรักษ์แพลตฟอร์ม” ซึ่งเป็นคลังข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ได้รับ
การสนับสนุนจาก NECTEC มาต่อยอดพิพิธภัณฑ์ปานถนอมให้เป็น “พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล” หรือแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ ที่มีเยาวชนไทยทรงดำในชุมชนเป็น Admin หรือ ผู้ดูแลและบริหารจัดการด้วยตัวเอง โดยได้
มีการจัดทำ QR Code ติดกำกับไว้ตามจุดต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ปานถนอม เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวได้ถึง 360 องศาเพียงใช้โทรศัพท์มือถือสแกน นอกจากนี้ ยังได้มีการฝึกทักษะผู้ประกอบการให้กับเยาวชนไทยทรงดำในชุมชนที่เข้ารับการอบรม เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยมีการนำ “รังไหม” ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการทอผ้าดังกล่าว มาทำเป็น “สบู่รังไหม” ที่มีสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้ต่อไปอีกด้วย

ซึ่งพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล สร้างสรรค์ขึ้นโดยตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 4 ที่ว่าด้วยการศึกษาเท่าเทียม (Quality Education) และสอดคล้องกับเป้าประสงค์ที่ 4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึง การศึกษาสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความนิยมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและในส่วนร่วมของวัฒนธรรมต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี 2573

Partners/Stakeholders

เยาวชนซึ่งเป็นลูกหลานไทยทรงดำในชุมชนหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  และผู้ที่สนใจ

ผู้ดำเนินการหลัก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมิตรา สุรรัตน์เดชา
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และกองส่งเสริมศิลปะวัฒนกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร