โครงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพชุมชนบางกอกน้อยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (โครงการบางกอกน้อยโมเดล 2)

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำหน้าที่ประสานความเชื่อมโยง และใช้วิชาการเป็นแนวทางสร้างกระบวนการเรียนรู้  เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งด้านสุขภาพ สามารถดูแลตัวเองได้มากขึ้น ลดภาวะความเจ็บป่วย ลดภาวะความแออัดในระบบบริการสุขภาพ เพื่อความยั่งยืน จะต้องสร้างความร่วมมือและเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน โดยมีฐานข้อมูลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย ที่ครอบคลุมมิติต่างๆ และเชื่อมประสาน สมรรถนะหลักของแต่ละองค์กรและภาคีต่างๆ มาร่วมการดำเนินการ จากข้อมูลส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปต่อยอดองค์ความรู้ ทำวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ผนวกแนวคิด “สร้างนำซ่อม” ที่มุ่งหวังให้ประชาชนสร้างสุขภาพของตนให้ดี มีการป้องกันไม่ให้ป่วย ไม่ให้เกิดโรค (สุขภาพนั้นหมายถึง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเพื่อให้เกิดแผนที่มีความครอบคลุม และยั่งยืน สรรสร้างชุมชนต้นแบบที่ไม่หวังพึ่งการรักษาเมื่อเจ็บป่วยเพียงอย่างเดียว แต่เริ่มคิดถึงการป้องกันการเกิดโรค โดยการให้ความรู้ สร้างกระบวนการเพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพด้วยความเข้าใจอย่างยั่งยืน โดยประสานศักยภาพทางวิชาการและการดูแลชุมชนในพื้นที่ โดยการใช้ฐานข้อมูลในพื้นที่ มาวิเคราะห์ วางแผนกิจกรรมโครงการ และดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนกึ่งเมือง มีเป้าหมายในการเรียนรู้ และสร้างแนวทางแก้ไขถึงสาเหตุ จากปัจจัยของปัญหาที่ครอบคลุมทั้ง 5 มิติที่ส่งผลต่อสุขภาพ คือ ด้านสุขภาพ  สิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐศาสตร์ และความปลอดภัย วางแผนผลักดันเนื้อหาให้มีการถ่ายทอดความรู้ในสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ทางการแพทย์แบบต่อยอด รวมถึงการสร้างโมเดล เพื่อให้พื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงสามารถนำไปปรับใช้ได้

 

Partners/Stakeholders

- กลุ่มภาควิชาภายในคณะ ฯ

- โรงเรียนในเขตบางกอกน้อย

- ชุมชนเขตบางกอกน้อย

ผู้ดำเนินการหลัก
งานกิจกรรมเพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลศิริราชพยาบาล
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ชุมชนในเขตบางกอกน้อย
ส่วนงานร่วม