การใช้ยากลุ่ม repurposed drugs แบบ combination เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงในการต้านไวรัส และมียาต้านไวรัสออกฤทธิ์กว้างที่มีประสิทธิภาพที่สามารถใช้รักษาโรคไวรัสที่มีอยู่แล้วและโรคไวรัสอุบัติใหม่
การใช้ยากลุ่ม repurposed drugs แบบ combination เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงในการต้านไวรัส และมียาต้านไวรัสออกฤทธิ์กว้างที่มีประสิทธิภาพที่สามารถใช้รักษาโรคไวรัสที่มีอยู่แล้วและโรคไวรัสอุบัติใหม่
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ที่แตกต่างกันได้แก่ ซีโรทัยป์ 1, 2, 3 และ 4 มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อ ในแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อไวรัสเด็งกี่มากถึง 390 ล้านคนต่อปี และมีผู้ป่วยที่แสดงอาการสูงถึง 96 ล้านคนต่อปี โดยส่วนใหญ่จะมีอาการที่ไม่รุนแรงเรียกว่า ไข้เด็งกี่ (dengue Fever, DF) ซึ่งจะหายได้เองในเวลา 4-7 วัน อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อส่วนหนึ่งจะมีอาการรุนแรง เรียกว่า โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever/dengue shock syndrome, DHF/DSS) ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีพยาธิสภาพที่สำคัญคือมีการรั่วของสารน้ำออกนอกหลอดเลือด (vascular leakage) ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันท่วงทีอาจถึงแก่ชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสเด็งกี่หรือวัคซีนที่สามารถรักษาหรือป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปัจจุบัน จึงเป็นการรักษาประคับประคอง ด้วยการให้สารน้ำที่เหมาะสม และการรักษาตามอาการ ยาต้านไวรัสเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ อย่างที่เห็นในการระบาดของโรคโควิด-19 เราไม่สามารถพัฒนายาต้านไวรัสใหม่ได้ทันเวลา และจำเป็นต้องใช้ยาที่มีอยู่เดิม ซึ่งอาจเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อกลไกของเซลล์เช่น chloroquine หรือยาต้านไวรัสที่พัฒนามาใช้กับไวรัสอื่นก่อนหน้านั้น ยาเหล่านี้แม้จะออกฤทธิ์กว้างต่อไวรัสหลายชนิด แต่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก จึงมีความจำเป็นในการพัฒนายาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์กว้างที่มีประสิทธิภาพเพื่อความเตรียมพร้อมต่อการระบาดใหญ่ครั้งใหม่ และเพื่อให้การรักษาที่ดีขึ้นต่อโรคไวรัสสำคัญที่ยังไม่มียารักษา ในระยะที่ผ่านกลุ่มวิจัยได้พัฒนาแนวทางหลายแนวทางในการพัฒนายาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์กว้างและมีผลลัพธ์ที่น่าสนใจ ในโครงการนี้กลุ่มวิจัยจะได้ดำเนินการใช้แนวทางเหล่านี้ในการพัฒนายาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์กว้าง เช่น repurposed drugs ที่ออกฤทธิ์ต่อเซลล์
งานวิจัยในระยะแรกจะดำเนินการในห้องปฏิบัติการหน่วยวิจัยโรคไข้เลือดออก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และในอนาคตจะขยายความร่วมมือกับหน่วยงาน DNDi ซึ่งจะขยายขอบเขตไปยัง 4 ประเทศหลัก คือ ประเทศไทย มาเลเซีย บราซิล และอินเดีย 5 ปี ตั้งแต่ 1 ม.ค.64 - 31 ธ.ค.68
ประชาชนทั่วไป และบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแล รักษา และเฝ้าระวังการระบาดของโรค