โครงการความร่วมมือกับจังหวัดนครปฐมในการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

โครงการนี้มีการร่วมบริหารจัดการ และ ให้บริการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ที่กักกันตัวในสถานที่ที่รัฐจัดให้ในชุมชน (Community isolation) และที่บ้าน ( Home Isolation) ร่วมกับ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และ เอกชน ทำให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการสร้างหลักประกัน ใช้ Application ในการบริหาร ทำให้การดำเนินงานทั้ง community isolation และ home isolation สามารถประสานงานทุกภาคส่วนได้รวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ตรงตามมาตรฐาน ต่อเนื่อง ทันเวลา และ ปลอดภัย สอดคล้องกับเป้าหมาย SDG 3 ในการสร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย ข้อ 3.3 ยุติการแพร่กระจายของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำ และโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี 2573 และ SDG 17 ข้อ17.17 สนับสนุนการส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม โดยสร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด 19 ทีเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ทั้งในโรงเรียน สถานประกอบการ คนงานหรือชุมชนที่อยู่ร่วมกัน ในประเทศไทย โควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตราย จากรายงานสถานการณ์โควิด 19 จากศูนย์ควบคุมสถานการณ์โควิด 19 (CCSA) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (กระทรวงสาธารณสุข) เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยที่ยืนยันแล้ว 633,284 ราย มีผู้เสียชีวิต 5,168 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ในปีเดียวกัน (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,2564)

จากการที่มีประชาชนชาชนจำนวนมากเจ็บป่วยด้วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 และมีความต้องการการดูแลในหลายมิติ ทั้งด้านการป้องกันโรคแทรกซ้อน การรักษา การส่งต่อ ทำให้โรงพยาบาลทุกระดับไม่สามารถตอบสนองความต้องการการบริการที่เพิ่มขึ้นได้  ดังนั้น การกักกันตัวในสถานที่ที่รัฐจัดให้ในชุมชน (Community Isolation) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา ผู้ป่วยและ ลดการแพร่ระบาดในชุมชน ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานกักกันโรค 766 แห่งทั่วประเทศ สามารถรองรับได้ถึง 21,302 คน 

ดังนั้นเพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยที่ต้องกักตัวที่ชุมชน และ ที่บ้านให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด   คณะพยาบาลศาสตร์ เห็นความสำคัญในการบริหารจัดการ และร่วมบริการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการสถานที่ ที่รัฐจัดให้ในชุมชน (Community Isolation)  ในการบริหารจัดการ CI การติดตามอาการ   ให้คำแนะนำ และส่งต่อประชาชนกลุ่มป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่กักกันตัวในสถานที่ ที่รัฐจัดให้ในชุมชน เพื่อลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในทุกด้านต่อประเทศไทย และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของคณะฯในการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาสุขภาวะของสังคมอย่างยั่งยืน  

 

วัตถุประสงค์

ร่วมบริหารจัดการ และร่วมให้บริการแก่ผู้ป่วย COVID-19 ที่กักกันตัวในสถานที่ที่รัฐจัดให้ในชุมชน (Community Isolation) และที่บ้าน ( Home Isolation) ที่ได้มาตรฐาน ในเขตจังหวัดนครปฐม และ กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก (Golden Jubilee Medical Center) และ มหาวิทยาลัยมหิดล (COM COVID)

 

การดำเนินโครงการฯ มีดังนี้

1 โครงการที่ร่วมกับ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

ขณะนี้มีอาจารย์ในคณะพยาบาลร่วมบริการ HI กับ GJ จำนวน 65 คน แต่ละคนจะให้บริการผู้ป่วย HI จำนวน 5 รายต่อวัน ดูแลจนอาการดีขึ้นและตรวจไม่พบเชื้อ จึงจะออกบับรองแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อ โดยมีหน้าที่ ดูอาการ และประสานงานให้ได้รับการดูแลตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยประสานผ่าน Application ของGJ ที่มีทีมแพทย์ พยาบาล และ เภสัชกร ร่วมให้การบริการ

2 Community isolation พื้นที่อำเภอพุทธมณฑล

ประชุมร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม และสาธารณสุขอำเภอพุทธมณฑล ในการวางแผนร่วมกันเป็นระยะ โดยร่วมให้บริการ 4 แห่ง ที่มีการบริหารจัดการแต่ละ CI ต่างกัน ทั้งนี้ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นภาควิชาหลักในการดำเนินงาน โดยแบ่งอาจารย์ของภาควิชาฯ เป็น 2 ทีม แต่ละทีม ดูแล 2 CI ในปัจจุบัน CI วัดมะเกลือ และ CI โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ยังอยู่ในระยะเริ่มดำเนินการ ส่วน CI รพ.สต มหาสวัสดิ์ และ CI วิทยาลัยนาฏศิลป์ ได้ดำเนินการเปิดดังนี้

2.1 Community isolation รพ.สต มหาสวัสดิ์

อาจารย์ได้ร่วมดูแลและบริหารจัดการ CI พื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ โดยร่วมออกแบบระบบการดูแลและบริหารจัดการของ CI ลงพื้นที่เพื่อเตรียมสถานที่ การกำหนด แยกโซนพื้นที่ของผู้ป่วย การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม จัดระบบการจัดการ CI โดยใช้พื้นที่ของ โรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ อาคารเรียน 2 ชั้น มีจำนวนเตียงรับผู้ป่วย 50 เตียง ซึ่งรับ 1) ผู้ป่วยสีเขียว สีเหลือง ที่เพิ่งได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันจากบ้าน 2) รับผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสนามมาพักฟื้นให้ครบ 14 วัน ก่อนส่งกลับบ้าน ร่วมดูแล CI ร่วมกับทีมบุคลากรและอาสาสมัครหมู่บ้าน บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลของ รพ.สต.มหาสวัสดิ์ โดยอาจารย์ของภาควิชาจะร่วมให้บริการ

1) Nursing round ในช่วงเช้าและบ่าย ทุกวันศุกร์

2) Monitor ผู้ป่วยผ่าน Line application  โดยให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่รับใหม่  ดูแลและจัดการกรณีผู้ป่วยมีภาวะไข้สูง หรือมีอาการหอบเหนื่อย ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยเน้นการให้คำแนะนำ การจัดการปัญหาและอาการ การได้รับยาต้านไวรัส และประสานงานกับแพทย์ผู้รับผิดชอบจากโรงพยาบาลพุทธมณฑล

3) ร่วมพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล การทำฐานข้อมูลเบื้องต้น

4) พัฒนาระบบการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ แนวทางการให้บริการ รับ/ส่งอาหาร และยาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การจัดการขยะติดเชื้อ เป็นต้น

5) พัฒนาระเบียบ ข้อกำหนดในการเตรียมตัว การปฏิบัติตัวในการอยู่ CI ของผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ สรุปจำนวนผู้รับบริการ/ผู้ป่วยของ CI  โดยเริ่มเปิดดำเนินการวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ขณะนี้รับผู้ป่วยไว้ดูแลจำนวนทั้งสิ้น 34 คน ส่งกลับบ้านแล้วจำนวน 9 คน ขณะนี้มีผู้ป่วยอยู่ในความดูแล 25 คน

2.2 Community isolation วิทยาลัยนาฏศิลป์

อาจารย์ ร่วมวางแผนการดำเนินการจัดการ และการบริหาร CI โดย CI จะรับผู้ป่วยที่เป็นสีเขียว สีเขียวเข้ม และสีเหลือง การบริหารจัดการปัจจุบันคือ มี อ.ส.ม. อยู่ในพื้นที่ และผู้ป่วยจะรายงานอาการ เช้า และเย็น ผ่าน line application อาจารย์จะช่วยในการ monitor อาการของผู้ป่วยใน CI ประสานงานให้ได้รับ การดูแลที่เหมาะสม จะมีแพทย์รับปรึกษาและสั่งการรักษา ตลอด 24 ชั่วโมง จะมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต  2 คน ร่วม monitor อาการ และ ประสานให้ผู้ป่วยได้รับยา หรือ intervention ตามแผนการรักษา เช่น x ray  ปัจจุบันมีผู้ป่วยรับบริการจำนวน 69 คน (วันที่ 18/8/2564) active case 23 คน กลับบ้านแล้ว 46 คน ผู้ป่วยที่กลับบ้านจะได้รับใบรับรองแพทย์ที่ออกโดย โรงพยาบาลพุทธมณฑล

3. Community isolation ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ผ่าน com covid

อาจารย์รับผู้ป่วย จาก ชุมชน อาจเป็นหมู่บ้าน โรงงาน หรือโรงเรียน ที่มีผู้ติดเชื้อ 5 คน ขึ้นไป  ที่มา  enroll กับ Com covid พยาบาลจะ monitor อาการผู้ป่วย โดยดู vital signs อาการจาก covid และ อาการจากโรคประจำตัว วันละ 2 ครั้ง หากพบความผิดปกติ จะ รายงานแพทย์เพื่อสั่งการรักษา จนกว่าจะครบ 14 วัน หากมีอาการเปลี่ยนเป็นสีแดงจะ ส่งต่อไปโรงพยาบาลที่สามารถติดต่อได้ขณะนั้น ขณะนี้ดูแล 7 Community แล้ว ทุกcommunity ได้รับการดูแลและการส่งต่อตามมาตรฐาน ไม่มีใครเสียชีวิต

 

Partners/Stakeholders
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
  • ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก (GJ) 
  •  มหาวิทยาลัยมหิดล (COM COVID)
ผู้ดำเนินการหลัก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์
ส่วนงานหลัก
ส่วนงานร่วม