Climate Change

มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงความสำคัญและความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่มนุษย์ และส่งเสริมกิจกรรมร่วมกับชุมชนภายนอกเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งในส่วนของคณะ บุคลากร และนักศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 13 การปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย อาทิ

การปลูกต้นไม้ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเพิ่มการดูดกลับคาร์บอน เช่น กิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก การปลูกต้นไม้ในวิทยาเขตอำนาจเจริญ การปลูกต้นไม้ในวิทยาเขตนครสวรรค์

climat-1.png
climat-2.png
climat-3.png
climate-4.png
การคัดแยกขยะ เพื่อลดปริมาณขยะที่ส่งไปกำจัดที่หลุมฝังกลบ และเป็นการปรับพฤติกรรมของนักศึกษา และบุคลากรในมหาวิทยาลัย เช่น อาสาเก็บขยะในงาน ธ สถิตในใจมหิดล จักมุ่งผลเป็นพลังของแผ่นดินและมีการสอดแทรกการคัดแยกในการจัดกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย เช่น กิจกรรมตลาดนัดนักศึกษา Mahidol Student Life Market (Green Market), กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลระหว่างวิทยาเขต ณ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ คอนเซปต์กิจกรรมครั้งนี้คือ “ออกไปใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” Eco-Friendly Trip โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องปฏิบัติ ดังนี้
  • 1. นำแก้วน้ำส่วนตัวมาใช้ขณะร่วมกิจกรรม
  • 2. ตักอาหารแต่พออิ่ม ไม่เหลือทิ้งเป็นขยะ
  • 3. เมื่อทานอาหารเสร็จเรียบร้อย ต้องล้างจานด้วยตนเอง เป็นต้น
climat-5.png
climat-06.png
climat-7.png
กิจกรรมภายนอกมหาวิทยาลัย อาทิ

กิจกรรมชมรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน สร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญ และช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการสายใยก่อเกิด กำเนิดนักอนุรักษ์ ณ คลองลาน กิจกรรมเรียนรู้เชิงปฏิบัติการสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ENVI TOUR : Back to the Nature “MU ตะลุยป่าในกรุง” กลุ่มชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ ชมรมศึกษาและพัฒนาชุมชน ชมรมชนบท ผู้นำเยาวชนจิตอาสา ชมรมโรตาแรคท์ ซึ่งมีกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาได้ออกไปเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่นอกห้องเรียนกับชุมชนท้องถิ่น พัฒนาโรงเรียนและพื้นที่ในชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ส่งเสริมให้นักศึกษาดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ให้อยู่กับเราไปนาน ๆ เช่น โครงการปลูกป่าชายเลนเชิงอนุรักษ์ และ โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 21 ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมโดยการปลูกทดแทนในพื้นที่ที่เคยปลูก และปลูกเพิ่มเติมในพื้นที่ใกล้เคียง ที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง