การศึกษาแบบจำลองการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ในสภาวะควบคุม ประเทศไทย (The Controlled Dengue Human Infection Model in Thailand)

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

การวิจัยนี้ในอนาคตจะสามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยได้จริง เพื่อช่วยลดระยะเวลาการรักษาตัว รวมถึงอัตราการป่วย/ตายของผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนมากที่มีอยู่เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาด ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการเกิดโรคไข้เลือดออกในแต่ละปี ซึ่งไม่เฉพาะในประเทศเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้กับประเทศอื่นๆที่อยู่ในเขตร้อนชื้นทั่วโลกทั้งที่มีการกระจายตัวของโรค และ non-endemic areas

         โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นโรคที่มีความสำคัญทางการแพทย์ ทุกวันนี้มีนักวิจัยที่ศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพื่อทำความเข้าใจ รู้จักโรคไข้เลือดออกและไวรัสเด็งกี่ได้ดีขึ้น นำไปสู่การศึกษาวิจัยเพื่อหาวิธีการรักษาซึ่งรวมทั้งคิดค้นยาและวัคซีน ในการรักษาหรือ ป้องกันการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดทั้งอัตราการตาย และสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคนี้ ถึงแม้ว่าการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนายาและวัคซีนยังคงดำเนินต่อเนื่องมานั้น แต่กระบวนการดังกล่าว ต้องใช้เวลานานและใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อย่นระยะเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการศึกษาวิจัย อีกทั้งเพื่อความมั่นใจว่า ยา และวัคซีนที่ถูกพัฒนาขึ้นจะมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย เมื่อนำมาใช้ในคนจำนวนมาก และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆจึงเกิดแนวคิดในการทาโครงการวิจัยเรื่อง การสร้างแบบจำลองการติดเชื้อในคน controlled human infection model ซึ่งเรียกย่อว่า ชิม CHIM ซึ่งเป็นการวิจัยที่อาสาสมัครที่มีสุขภาพแข็งแรงจะได้รับเชื้อจุลินทรีย์ในปริมาณที่เหมาะสมและอยู่ภายใต้สภาวะควบคุมโดยคณะผู้วิจัย และแพทย์ผู้มีความรู้และประสบการณ์ต่อโรคนั้นๆ การวิจัยเหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้นักวิจัยมีความเข้าใจถึงกระบวนการเกิดโรค การรักษา และการป้องกันโรคต่างๆ อาทิ โรคไข้หวัดใหญ่ อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ ตับอักเสบ ไข้มาลาเรีย รวมทั้งไข้เลือดออก

Partners/Stakeholders

อาสาสมัคร นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไป

ผู้ดำเนินการหลัก
ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช), NIAID, National Institutes of Health, USA (Dr. Stephen S. Whitehead), Johns Hopkins, Bloomberg School of Public Health, USA (Prof. Anna P. Durbin)
ส่วนงานร่วม