Health

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สนับสนุนการมีสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัย โดยได้มีหน่วยบริการด้านสุขภาพ ดังนี้

หน่วยบริการเคลื่อนที่ให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี แก่บุคลากรในสถานประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีทีมงานที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีประสบการณ์สูง คือ แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล เทคนิคการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสมรรถภาพร่างกายเฉพาะทางต่าง ๆ

ศูนย์ทันตกรรมพระราชทานฯ ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดดำเนินการดังนี้

(1) ออกหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ ตามแผนปฏิบัติการที่คณะกรรมการโครงการกำหนด หรือตามการเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยมราษฎรของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี หรือแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ โดยให้การรักษาตรวจสุขภาพช่องปาก เคลือบหลุมร่องฟัน อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย ถอนฟัน และใส่ฟันเทียมถอดได้ฐานพลาสติก (เป็นครั้งคราว) แก่นักเรียนในโครงการพระราชดำริฯ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่

(2) รับผู้ที่มีความผิดปกติปากแหว่ง เพดานโหว่ และผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของใบหน้าหลังการผ่าตัด หรือผู้ป่วยที่มีโรคในช่องปากที่ซับซ้อนเกินความสามารถของสถานพยาบาลในท้องถิ่นที่รักษาได้ เข้ารักษาในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะฯ จะรับผิดชอบในเรื่องการผ่าตัด การจัดฟัน และอวัยวะเทียมที่เกี่ยวข้องโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

(3) จัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับทันตกรรมป้องกัน โดยให้คำแนะนำด้านทันตสุขศึกษาแก่นักเรียนและครูในโรงเรียนตามโครงการพระราชดำริฯ

(4) จัดทำวิจัยเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดโรคในช่องปาก และหามาตรการที่เหมาะสมในการรักษาป้องกัน

โดยจัดศึกษาปัจจัยทางนิเวศวิทยา พฤติกรรมและโภชนาการในโรงเรียนตามพระราชดำริฯ

นอกจาก งานออกหน่วยทันตกรรม แล้ว ศูนย์ทันตกรรมได้ดำเนินโครงการฯอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน จึงกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเน้นย้ำและปลูกฝังให้บุคลากรทุกระดับ ทุกหน่วยงาน ทำ CSR เพื่อนำมาซึ่งประโยชน์สุขต่อสังคม จึงได้จัดตั้ง "ศูนย์อาสาสมัครศิริราช" ขึ้น ภายใต้การดำเนินงาน ของงานกิจกรรมเพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อดำเนินงานเป็นศูนย์ประสานงานกิจกรรมที่เปิดรับอาสาสมัครและรวบรวมอาสาสมัครทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร เป็นการส่งต่อแนวคิดการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมให้กับประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมไทย

พร้อมกันนี้ศูนย์อาสาสมัครศิริราชยังทำหน้าที่สร้างภาคีเครือข่ายกับภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ เช่น สมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชในพระบรมราชูปถัมภ์ Mahidol Volunteer เครือข่ายจิตอาสา และธนาคารจิตอาสา เป็นต้น เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมร่วมกัน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสังคมไทย และเกิดความยั่งยืน