Policies & Plans

การใช้เสรีภาพทางวิชาการ ในการจัดการเรียนการสอน พ.ศ. 2565
                        โดยที่มหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการศึกษา ที่ต้องเป็นไปตามหลักเสรีภาพทางวิชาการ โดยเสรีภาพทางวิชาการในการศึกษา ในการเรียนการสอน และการแสดงความคิดเห็นทางวิขาการตามหลักวิชา ย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย หน้าที่ของปวงชนชาวไทย และศีลธรรมอันดีของประชาขน รวมทั้งต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงประกาศแนวทางปฏิบัติในการใช้เสรีภาพทางวิชาการ ในการจัดการเรียนการสอน ดังนี้       
                    
  • คณาจารย์มีเสรีภาพทางวิชาการ ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการโดยยึดหลักความถูกต้องเป็นสำคัญ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศ ทั้งนี้ ให้ยึดผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้สอดคล้องตามปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย และมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของหลักสูตรสถาบันอุดมศึกษา วิชาชีพ ประเทศชาติ และบริบทโลก อันประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) จริยธรรม (Ethics) และลักษณะบุคคล (Character)
  • คณาจารย์ควรให้ความสำคัญกับกรส่งสริมเสรีภาพทางวิชาการของนักศึกษา และการเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ โดยปราศจากการข่มขู่ การใช้อำนาจ หรือการแทรกแซงอำนาจ อันจะนำไปสู่การปิดกั้นในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ
  • การใช้เสรีภาพทางวิชาการ จะต้องอยู่ในหลักจริยธรรมที่ถูกต้องและเหมาะสมในทุกปฏิสัมพันธ์และการติดต่อกับบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ดาวน์โหลดฉบับเต็ม