Policies & Plans

แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พ.ศ. 2565
                        มหาวิทยาลัยมหิดลมีความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามพันธกิจให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล และตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)       
                    
                        ดังนั้น เพื่อให้หลักการตามวรรคหนึ่งดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มหาวิทยาลัยจึงกำหนดแนวทางเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ บุคคล ชุมชน สังคม และสาธารณะ มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยดังต่อไปนี้
                    

1. ให้ส่วนงานพิจารณากิจกรรมการดำเนินงานทุกพันธกิจที่มีผลกระทบต่อ บุคคล ชุมชน สังคม และสาธารณะ ว่ามีผู้ใดหรือหน่วยงานใดที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือเป็นผู้ได้รับผลกระทบ

2. ให้ส่วนงานกำหนดวิธีการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้

  • การให้ข้อมูลหรือข้อเสนอแนะ เช่น การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้รับบริการให้ข้อมูลหรือข้อเสนอแนะตามช่องทางต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานหรือการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น
  • การรับฟังความคิดเห็น ได้แก่ กรสำรวจความคิดเห็น การรับพังความคิดเห็น การสำรวจการรับรู้ และการสำรวจความพึงพอใจ
  • การสร้างความร่วมมือ ได้แก่ การบูรณาการการทำงานร่วมกัน การสร้างภาคีหรือเครือข่ายความร่วมมือ การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การทำบันทึกความเข้าใจ และการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (University Social Responsibility: USR)
  • การมีบทบาทในการดำเนินงาน ได้แก่ การร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน
  • แนวทางหรือวิธีการอื่นใดตามความเหมาะสม

3. ให้ส่วนงานสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามแนวทางในข้อ 2 ข้างต้น โดยกำหนดเป็นนโยบาย แนวปฏิบัติ ขั้นตอน วิธีการ ผู้รับผิดชอบ และจัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนิน

4. เมื่อส่วนงานมีการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมตามแนวทางในข้อ 2 ข้างต้น ให้เผยแพร่ข้อมูลการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการนั้น ๆ ต่อสาธารณะด้วย

ดาวน์โหลดฉบับเต็ม