มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนา อย่างยั่งยืน (Mahidol University Sustainability Action) ตาม 17 เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : 17 SDGs) ขององค์กรสหประชาชาติ (United Nations : UN) โดยเป็นเป้าหมายโลกแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนตั้งแต่ปี 2558–2573 และสอดรับกับข้อตกลง ในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ครั้งที่ 24 (COP24) ที่มุ่งเป้าสู่การบรรลุปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2030 เพื่อรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส
(1) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร
(2) ลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
(3) การบำรุงรักษาระบบทำความเย็นของอาคารอย่างสม่ำเสมอ
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เส้นทางสัญจรที่ลดการปล่อยมลภาวะ เช่น ทางเดินเท้า จักรยาน รถรางไฟฟ้า เป็นต้น
(5) ส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุงเส้นทางสัญจรที่ลดการปล่อยมลพิษ ภายในมหาวิทยาลัยและบริเวณโดยรอบ
(1) เพิ่มสัดส่วนในการใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) คือ พลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(2) เพิ่มการใช้พลังงานทดแทน (Renewable Energy) เพื่อลดการเกิดมลภาวะและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(1) เพิ่มการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและการลดการนำขยะสู่หลุมฝังกลบทุกประเภทให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)
(2) มีการบริหารจัดการน้ำและน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มการกักเก็บน้ำฝนและสัดส่วนการใช้น้ำรีไซเคิล
(3) มีการจำหน่ายอาหารมีรายการอาหารที่มาจากพืชเป็นหลัก (Plant-based) ผักออร์แกนิก และมีรายการอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มหวานน้อย เมนูแคลอรี่ต่ำ เป็นต้น
(4) เพิ่มการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(5) มีการจัดกิจกรรมและการดำเนินการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย
(1) การเพิ่มพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่อาคาร
(2) เพิ่มการปลูกต้นไม้ในบริเวณพื้นที่รอบนอกอาคาร